เมนู

สติปัฏฐาน 4 เป็นโลกุตตระ สติปัฏฐาน 4 เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจิ-
นวิญเญยยะ.

3. อาสวโคจฉกวิสัชนา


สติปัฏฐาน 4 เป็นโนอาสวะ สติปัฏฐาน 4 เป็นอนาสวะ สติปัฏฐาน
4 เป็นอาสววิปปยุต สติปัฏฐาน 4 กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้
เป็นสาสวโนอาสวะ สติปัฏฐาน 4 กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต
แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ สติปัฏฐาน 4 เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ.

4,5,6,7,8,9,10 สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา


สติปัฏฐาน 4 เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ สติปัฏฐาน 4 เป็นโนคันถะ
ฯลฯ สติปัฏฐาน 4 เป็นโนโอฆะ ฯลฯ สติปัฏฐาน 4 เป็นโนโยคะ ฯลฯ
สติปัฏฐาน 4 เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ สติปัฏฐาน 4 เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ
สติปัฏฐาน 4 เป็นสารัมมณะ สติปัฏฐาน 4 เป็นโนจิตตะ สติปัฏฐาน 4
เป็นเจตสิกะ สติปัฏฐาน 4 เป็นจิตตสัมปยุต สติปัฏฐาน 4 เป็นจิตตสัง-
สัฏฐะ สติปัฏฐาน 4 เป็นจิตตสมุฏฐานะ สติปัฏฐาน 4 เป็นจิตตสหภู
สติปัฏฐาน 4 เป็นจิตตานุปริวัตติ สติปัฏฐาน 4 เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ
สติปัฏฐาน 4 เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู สติปัฏฐาน 4 เป็นจิตตสังสัฏฐ-
สมุฏฐานานุปริวัตติ สติปัฏฐาน 4 เป็นพาหิระ สติปัฏฐาน 4 เป็นนอุปาทา
สติปัฏฐาน 4 เป็นอนุปาทินนะ.

11,12,13, อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา


สติปัฏฐาน 4 เป็นนอุปาทานะ ฯลฯ สติปัฏฐาน 4 เป็นโนกิเลสะ
ฯลฯ สติปัฏฐาน 4 เป็นนทัสสนปหาตัพพะ สติปัฏฐาน 4 เป็นนภาวนา-

ปหาตัพพะ สติปัฏฐาน 4 เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ สติปัฏฐาน 4 เป็น
นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ สติปัฏฐาน 4 เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี
สติปัฏฐาน 4 เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี สติปัฏฐาน 4 เป็นสัปปีติกะก็มี
เป็นอัปปีติกะก็มี สติปัฏฐาน 4 เป็นนปีติสหคตะก็มี เป็นปีติสหคตะก็มี
สติปัฏฐาน 4 เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี สติปัฏฐาน 4 เป็น
อุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี สติปัฏฐาน 4 เป็นนกามาวจร
สติปัฏฐาน 4 เป็นนรูปาวจร สติปัฏฐาน 4 เป็นนอรูปาวจร สติปัฏฐาน 4
เป็นอปริยาปันนะ สติปัฏฐาน 4 เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี
สติปัฏฐาน 4 เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี สติปัฏฐาน 4 เป็นอนุตตระ
สติปัฏฐาน 4 เป็นอรณะ ฉะนี้แล.
จบปัญหาปุจฉกะ
สติปัฏฐานวิภังค์ จบบริบูรณ์

สัมโมหวิโนทนี

1

อรรถกถาวิภังค์


สติปัฏฐานวิภังคนิทเทส


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสติปัฏฐานวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก
ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์นั้น ต่อไป
คำว่า 4 เป็นคำกำหนดจำนวน. ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อม
ทรงแสดงกำหนดสติปัฏฐานไว้ว่า มีจำนวนไม่ต่ำกว่านั้น ไม่เกินกว่านั้น
ดังนี้.
คำว่า สติปัฏฐาน ได้แก่ สติปัฏฐาน 3 อย่าง คือ สติโคจร 1
ความที่พระศาสดาผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้ายในหมู่พระสาวกผู้ปฏิบัติ 3
อย่าง 1 ตัวสติ 1.
จริงอยู่ สติโคจร (อารมณ์ของสติ ) ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ใน
คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุให้เกิด และความดับไป
แห่งสติปัฏฐาน 4 เธอทั้งหลายจงฟังคำนั้น จงมนสิการให้ดี ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุให้เกิดกาย ความเกิดขึ้น
แห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร เป็นต้น. โดยทำนอง
นั้น กายย่อมเป็นอารมณ์ปรากฏ มิใช่สติปรากฏ.


1. บาลีอรรถกถาหน้า 279 เป็นต้นไป